วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สงครามโลกครั้งที่ 2

สาเหตุ
1.ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์และสัญญาสันติภาพฉบับอื่นๆ ซึ่งทำภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันและชาติผู้แพ้สงคราม ถูกบังคับให้ลงนามในสัญญาที่ตนเสียเปรียบ
2.การเติบโตของลัทธิทางทหาร หรือระบบเผด็จการ มีผู้นำหลายประเทศสร้างความเข้มแข็งทางทหาร และสะสมอาวุธร้ายแรงต่างๆ
3.ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ การทำหน้าที่รักษาสันติภาพไม่ประสบผลสำเร็จ
4.ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมือง แนวความคิดของผู้นำประเทศที่นิยมลัทธิทางทหาร ได้แก่ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซีของเยอรมนี และเบนนิโต มุสโสลินี ผู้นำลัทธิฟาสซีสม์ ของอิตาลี ทั้งสองต่อต้านแนวความคิดเสรีนิยม และระบบการเมืองแบบรัฐสภาของชาติยุโรป แต่ให้ความสำคัญกับพลังของลัทธิชาตินิยม ความเข้มแข็งทางทหาร และอำนาจผู้นำมากกว่า
ภาพบุคคลสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
4a55dbdc6c16615L-620x372
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
memou
เบนิโต มุสโสลินี
oo
fas
แฟรงคลิน รูสเวลท์

herry
แฮร์รี เอส ทรูแมน
เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
1.ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย แล้วตั้งเป็นรัฐแมนจูกัว เพื่อเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งทำทุนใหม่สำหรับตลาดการค้าของญี่ปุ่น
2.การเพิ่มกำลังอาวุธของเยอรมัน และฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์
3.กรณีพิพาทระหว่างอิตาลีกับอังกฤษ ในกรณีที่อิตาลีบุกเอธิโอเปีย
4.เยอรมันผนวกออสเตรีย ทำให้เกิดสนธิสัญญา แกนเบอร์ลิน – โรม (เยอรมัน & อิตาลี) ต่อมาประเทศญี่ปุ่น เข้ามาทำสนธิสัญญาด้วย กลายเป็นสนธิสัญญา แกนเบอร์ลิน – โรม – โตเกียว เอ็กซิส
5.สงครามกลางเมืองในสเปน
6.เยอรมันเข้ายึดครองเชคโกสโลวเกีย
7.การแบ่งกลุ่มประเทศในยุโรป
ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2
เกิดจากเยอรมนีโจมตีโปแลนด์ และเรียกร้องขอดินแดนฉนวน ดานซิก คืนทำให้อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งสนับสนุนโปแลนด์ ประกาศสงครามกับเยอรมนีทันที ต่อมาเมื่อการรบขยายตัว ทำให้นานาประเทศที่เกี่ยวข้องถูกดึงเข้าร่วมสงครามเพิ่มขึ้น ( 1 กันยายน ค.ศ.1339)
kem1kam 2
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรของเยอรมนี เปิดฉากสงครามโดยโจมตีอ่าวเพิร์ล ฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในหมู่เกาะฮาวายเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามฝ่ายเดียวกับชาติพันธมิตรอย่างเป็น ทางการ
kem3kem4
ประเทศคู่สงครามใน WW.II
แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
(1) กลุ่มประเทศฝ่ายพันธมิตร ชาติผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต รวมทั้งยังมีประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าร่วมสมทบด้วยอีกจำนวนมาก
(2) กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ ชาติผู้นำที่สำคัญได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี
อาวุธที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
zazbzczdzezfzgzhzizlzm
zo
“ค่ายเอาชวิตซ์” (Auschwitz)
ที่ใกล้เมืองเอาชวิตซิน โดยค่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อสังหารชาวยิวด้วย การรมแก๊สพิษและเผาในเตาเผา โดยมีเหยื่อที่โดนถึง 1,200,000 จากที่ต่างๆ ทั่วยุโรป จํานวน 22 ล้านคน ไปที่ค่าย โดยขนไปทางรถยนต์ รถไฟ และเรือเดินสมุทร และปัจจุบันสภาพยังเหมือนเดิมทุกประการไม่ว่าเตารมแก๊ส เตาเผา ค่ายพัก คุก มีกลิ่นแห่งความตายติดมาด้วย
zn
ระเบิดนิวเคลียร์ Little Boy ที่เมืองฮิโรชิมาญี่ปุ่น วันที่ 6 สิงหาคม 1945
zp
ระเบิดนิวเคลียร์ FAT MAN ที่เมืองนางาซากิ ญี่ปุ่น วันที่ 9 สิงหาคม 1945
ตำแหน่งที่ระเบิดนิวเคลียร์ ลงที่ประเทศญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่ 2
zq
ในวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos นำโดยเจ โรเบิร์ต นักฟิสิกส์ ใน “โครงการแมนฮัตทัน” ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต ,
ฮิโระชิมะ ,โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า
เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่ ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและสร้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด
ภาพจากชาวญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพรังสี
zr
ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ ฮิโระชิมะ ว่า “ฮิบะกุชะ” ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น” ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่น จึงมีนโยบายต่อต้านการใช้ระเบิดปรมณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์, ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 “ฮิบะกุชะ” มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็น เมืองฮิโระชิมะ 258,310 คน และเมืองนะงะซะกิ 145,984 คน
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
1.มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วย เหลือกัน และสนับสนุนสันติภาพของโลก รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ
2.ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)
3.ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้ง
ที่ 1
4.การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม
5.สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
6.ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา
7.เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต
ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
เหตุผลที่ไทยต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2
ไทยประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน
ผลของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2ของประเทศไทย
-ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
-เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
-ไทยได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
-ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

CIS

เครือรัฐเอกราช (อังกฤษCommonwealth of Independent States หรือ CIS รัสเซียСодружество Независимых Государств หรือ СНГ) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง โดยมีประเทศสมาชิกเป็นประเทศที่ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต (ยกเว้นกลุ่มประเทศบอลติก)
สมาชิกปัจจุบัน
ภาคีสมาชิก/สมาชิกร่วม
  • ธงของประเทศเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน (พ.ศ. 2534—2548; ลาออกจากการเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2548 และเป็นภาคีสมาชิกตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา)
อดีตสมาชิก

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

ปฏิวัติฝรั่งเศส

       


   การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรป โดยมีสาเหตุทางด้านการคลังเป็นพื้นฐาน
         เป็นการปฏิวัติโดยกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยการล้มล้างการปกครองในระบอบเก่า (Ancient Regime) หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) มาสู่อำนาจอธิปไตยของประชาชน
สาเหตุทั่วไปของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ประกอบด้วย
ด้านการเมือง          1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงไม่เข็มแข็งพอไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศจึงเปิดโอกาสให้คณะบุคคลบางกลุ่มเข้ามามีสิทธิร่วมในการบริหารประเทศ
          2. สภาท้องถิ่น (Provincial Estates) เป็นสภาที่มีอยู่ทั่วไปในฝรั่งเศส และตกอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของขุนนางท้องถิ่น เริ่มกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง
          3. สภาปาลมองต์ (Parlement) หรือศาลสูงสุดของฝรั่งเศส ทำหน้าที่ให้การปรึกษากับกษัตริย์มีสิทธิ์ยังยั้งการออกกฎหมายใหม่ (Vito) ซึ้งเป็นสภาที่เป็นปากเป็นเสียงของประชนเคยถูกปิดไปแล้ว กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมให้สภาปามองต์แสดงบทบาทสามารถต่อรองขอสิทธิบางอย่างทางการเมือง
          4. สภาฐานันดรหรือสภาทั่วไป (Estates General)  ที่จัดตั่งขึ้นในยุคกลางในสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 4 เพื่อต่อต้านอำนาจของสันตปาปา ซึ่งมีผลทำให้เกิดชนชั้นของประชาชน 3 ชนชั้นคือ พระ ขุนนาง และสามัญชน, ในปี ค.ศ. 1789 สถานะทางด้านการคลังของประเทศเกิดปัญหาขาดดุลอย่างหนัง ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เปิดสภานี้ขึ้นมาใหม่หลังจากจากที่ถูกปิดไปถึง 174 ปี เพื่อขอเสียงสนับสนุนจากตัวแทนของประชาชนในการขอเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แต่เกิดปัญหาการนับคะแนนเสียงขึ้น จนกลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1789
          5. ประเทศฝรั่งเศสไม่มีรัฐธรรมนูญ ทำให้การปกครองเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครอง
ด้านเศรษฐกิจ
          1. สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในราชสำนัก เป็นปัญหาสั่งสมมาจนถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
          2. เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการที่ฝรั่งเศสเข้าไปพัวพันกับสงครามในต่างประเทศมากเกินไป โดยเฉพาะสงครามกู้เอกราชของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 จึงทำให้เกิดค้าใช้จ่ายสูง
          3. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดวิกฤตการทางการเกษตร ราคาอาหารสูงขึ้นไม่สมดุลกับค่าแรงที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมา คือชนชั้นกลาง (พ่อค้า นายทุน) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติ
          4. พระเจ้าหลุยส์ไม่สามารถตัดค่าใช้จ่ายในราชสำนักได้ แต่ก็พยายามแก้ไขโดย
              - ปรับปรุงการเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดการไม่พอใจในกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษี
              - เพิ่มการกู้เงิน ซึ่งก็ช่วยทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
              - ตัดรายจ่ายบางประการ เช่น การเลิกเบี้ยบำนาน ลดจำนวนค่าราชการ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  ยังส่งผลถึงการทำงานของราชการไม่มีประสิทธิภาพ
             การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากแก้ไขที่ไม่ตรงจุด จึงไม่สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปได้
ด้านสังคม               1. การรับอิทธิพลทางความคิดของชาวต่างชาติ จาการที่ฝรั่งเศสเข้าไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงครามประกาศอิสภาพจากอังกฤษ จึงทำให้รับอิทธิพลทางความคิดด้านเสรีภาพนั้นกลับเข้ามาในประเทศด้วย อิทธิพลทางความคิดที่สำคัญที่รับมาคือจากบรรดานักปรัชญากลุ่ม ฟิโลซอฟส์ (Philosophes)  นักปรัชญาคนสำคัญคือ วอร์แตร์, จอห์น ล็อค, รุสโซ่
               2. เกิดปัญหาความแตกต่างทางสังคม อันเนื่องมาจากพลเมืองแบ่งออกเป็น 3 ฐานันดร คือ
                    - ฐานันดรที่ 1 พระ
                    - ฐานันดรที่ 2 ขุนนาง
                    - ฐานันดรที่ 3 สามัญชน
                ฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ชน คือไม่ต้องเสียภาษี ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 ต้องแบกรับภาระทั้งหลายอย่างเอาไว้เช่น การเสียภาษี การจ่ายเงินค่าเช่าที่ดิน และการถูกเกณฑ์ไปรบ กลุ่มฐานันดรที่ 3 ถือเป็นกลุ่มไม่มีอภิสิทธิ์ชน
สาเหตุปัจจุบันของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
               เมื่อประเทศฝรั่งเศสประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงเปิดประชุมสภาฐานันดร (Estates General) ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1789 เพื่อขอคะแนนเสียงของตัวแทนของประชาชนทุกกลุ่มช่วยกันแก้ไขปัญหาทางการคลัง  แต่ได้เกิดปัญหาขึ้นเพราะกลุ่มฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้นับคะแนนเสียงเป็นรายหัว แต่กลุ่มฐานันดรที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ร่วมมือกันเสมอนั้นเสนอให้นับคะแนนเสียงแบบกลุ่ม  จึงทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 เดินออกจากสภา แล้วจัดตั้งสภาแห่งชาติ (National Assombly) เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปิดห้องประชุม
              ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 สภาแห่งชาติได้ย้ายไปประชุมที่สนามเทนนิส และร่วมสาบานว่าจะไม่ยอมแพ้และไม่ยอมแยกจากกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ในการปกครองประเทศ
ในขณะเดียวกันกับความวุ่นวายได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปารีส และได้ขยายตัวออกไปทั่วประเทศ  ฝูงชนชาวปารีสได้รับข่าวลือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กำลังจะส่งกำลังทหารเข้ามาปราบปรามความฝูงชนที่ก่อวุ่นวายในปารีส
              ดังนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ฝูงชนจึงได้ร่วมมือกันทำลายคุกบาสติล(Bastille) ซึ่งเป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบเก่า
ผลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
              1. เปลี่ยนจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (คนเดียว) มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ (หลายตน)
              2. มีการล้มล้างกลุ่มอภิสิทธิชน พระและขุนนางหมดอำนาจ, กลุ่มสามัญชน กรรมกร ชาวนา และโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลาง เข้ามามีอำนาจแทนที่
              3. ศาสนาจักรถูกรวมเข้ากับรัฐ ทำให้อำนาจของสันตะปาปาถูกควบคุมโดยรัฐ
              4. เกิดความวุ่นวายทั่วประเทศเพราะประชนชนบางส่วนยังติดอยู่กับการปรครองแบบเก่า
              5. มีการจับขุนนางประหารด้วยเครื่องกิโยตินมากมาย และที่สำคัญ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ถูกตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม 1793 และพระนาง มารี อังตัวเนตต์ ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน ในวันที่ 10 ตุลาคม 1793 เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์บลูบลองก์ที่ปกครองฝรั่งเศสมานาน
              6. มีการทำสงครามกับต่างชาติ
              7. มีการขยายอิทธิพลแนวความคิดและเป็นต้นแบบของการปฏิวัติไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป